9 เทรนด์ ปลั๊กพ่วง รุ่นไหนดี กด!!ในปี 2024
หากคุณกำลังมองหาปลั๊กพ่วงพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้หลากหลาย เราขอแนะนำให้รู้จักกับนวัตกรรมปลั๊กพ่วงชั้นเลิศจากแบรนด์ผู้ผลิตที่คร่ำวอดอยู่ในวงการ โดยแต่ละชนิดมีทั้งแบบ ปลั๊กพ่วง ซึ่งวันนี้ทางเราจึงจัดอันดับ แนะนำ ปลั๊กพ่วง ที่ตอบโจทย์กับตัวคุณมาให้เลือกกันแล้วดังนี้
2. Masterplug ปลั๊กพ่วงโครงเหล็ก 20 30 เมตร ปลั๊กมอก ปลั๊กพ่วงสนาม ล้อเก็บสายไฟ โรลเก็บสายไฟ ปลั๊กม้วน ประกัน5ปี โครงเหล็กแข็งแรง
3. ปลั๊กไฟ BUCK 4 ตา 2500 W ไฟบ้าน ไฟพ่วง สายต่อพ่วง ไฟUSB มีสวิตช์เปิด-ปิด สายไฟยาว 3 เมตร(สีเขียว)
4. Masterplug ปลั๊กพ่วง 5 10 15 20 30 เมตร ปลั๊กมอก ปลั๊กพ่วงสนาม ล้อเก็บสายไฟ โรลเก็บสายไฟ ปลั๊กม้วน ปลั๊กไฟ มาตรฐาน มอก ประกัน5ปี
5. ปลั๊กพ่วงไม้สัก Schneider ชนิด 4 และ 6 ช่องเสียบแบบมี เบรกเกอร์ *ราคาไม่รวมสายไฟพ่วง
6. ปลั๊กพ่วงพร้อมสายไฟ ปลั๊กเสียบ ปลั๊กสนาม พร้อมใช้
7. ปลั๊กพ่วงบล็อกยางกันกระแทก รุ่น 2 เต้ารับ มีเบรกเกอร์ 20A พร้อมสาย VCT ขนาด 2x1.5, 2x2.5 sq.mm. ยาว 1-10 เมตร
8. ปลั๊กแยก 4 ทาง ปลั๊กพ่วงไฟสนาม ใช้ทําปลั๊กต่อพ่วง ปลั๊กพ่วง หัวเชื่อมปลั๊ก ปลั๊กแยก 4 ทาง ปลั๊กพ่วงไฟสนาม ใช้ทําปลั๊กต่อพ่วง ปลั๊กพ่วง หัวเชื่อมปลั๊ก
9. ปลั๊ก ปลั๊กพ่วง ปลั๊กไฟ TOSHINO (ET-Series)
ในบทความนี้ เราจึงมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงมาแนะนำกันค่ะ ซึ่งเมื่ออ่านจบแล้ว คุณจะได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีเลือกใช้ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนในครอบครัว ทั้งยังตรงกับความต้องการในการใช้งานด้วย นอกจากนี้ หากคุณสนใจเปลี่ยนไปใช้ปลั๊กพ่วงตามคำแนะนำของเราหรือกำลังมองหาปลั๊กพ่วงตัวใหม่อยู่ละก็ ทีมงานยังได้จัดอันดับ 10 ปลั๊กพ่วงที่ได้รับความนิยมมาไว้ในตอนท้ายเพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจของทุกคนอีกด้วยค่ะ
ก่อนไปดูว่ามีสินค้าตัวใดน่าสนใจบ้าง เรามาทำความรู้จักปลั๊กพ่วงและการใช้งานในแต่รูปแบบกันก่อนดีกว่าค่ะ
ปลั๊กพ่วงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบมีสายพ่วงและแบบติดผนัง ซึ่งเป็นปลั๊กพ่วงแบบขยายช่องเสียบให้มากขึ้น ซึ่งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรนั้น ติดตามกันต่อได้เลยค่ะ
ปลั๊กพ่วงแบบไม่มีสายมักใช้ในการขยายช่องเสียบปลั๊กไฟที่ติดตามผนังบ้านเราให้มีช่องเสียบมากขึ้น เป็นต้นว่า ห้องพักทั่วไปมักทำเต้าเสียบหลังชั้นวางโทรทัศน์ให้มีเพียง 2 ช่อง แต่เนื่องด้วยความบันเทิงที่มีมากขึ้นในสมัยนี้ ไหนจะทีวี, กล่องปล่อยสัญาณดิจิทัลทีวี, กล่องปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต, เครื่องเล่น DVD หรือเครื่องเล่นเกม ปลั๊กที่มีให้จึงไม่เพียงพอกับการใช้งาน ในกรณีนี้คุณก็สามารถเลือกใช้ปลั๊กพ่วงแบบไม่มีนี้เพื่อขยายช่องเสียบปลั๊กให้มากเท่าที่ต้องการ
ในการเลือกซื้อ ควรดูขนาดของปลั๊กพ่วงว่าต้องไม่ใหญ่เกินไป จนบังเต้าเสียบหลักของเราจนใช้การไม่ได้ไปหนึ่งช่อง โดยเฉพาะเมื่อใช้เสียบกับปลั๊กติดผนังที่มีช่องเสียบแค่ 2 ช่อง
ข้อดีของปลั๊กพ่วงชนิดนี้ คือ คุณสามารถยืดขยายพื้นที่การใช้งานได้ไกลขึ้น ใช้งานง่ายและรวดเร็วเพียงแค่เสียบปลั๊กต่อเข้ากับเต้าเสียบ จากนั้นก็นำเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณมาเสียบใช้งานต่ออีกที ซึ่งปลั๊กพ่วงที่เหมาะสมควรมีระยะห่างระหว่างเต้าเสียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณ 50 เซนติเมตร เพราะถ้าสั้นไปอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุสะดุดล้ม, เครื่องใช้ตกหล่นเสียหาย หรือถ้ายาวไปจะระเกะระกะบ้านคุณเสียเปล่า ๆ ค่ะ
ถ้าคุณต้องเสียบปลั๊กที่เป็น AC Adapter ในตัวที่มีน้ำหนักมาก การใช้ปลั๊กพ่วงแบบไร้สายจะทำให้เสียบใช้ได้อย่างมั่นคง ดีกว่าเสียบกับเต้าเสียบติดผนังแน่นอนค่ะ
การเลือกจำนวนช่องเสียบ ลักษณะช่องเสียบก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการเลือกซื้อ อย่าลืมตรวจสอบทุกครั้งก่อนซื้อนะคะ
ปลั๊กพ่วงทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมักถูกออกแบบให้มีช่องเสียบตั้งแต่ 1 – 10 ช่อง ซึ่งผู้อ่านสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คุณจะใช้ ทั้งนี้ สำหรับปลั๊กพ่วงไร้สายถ้ามีช่องเสียมากเกินไปอาจจะรับน้ำหนักไม่ไหวแล้วร่วงหล่นได้ ดังนั้น จำนวนช่องเสียบที่พอดีน่าจะอยู่ที่ 3 - 4 ช่อง ส่วนแบบไร้สายเราแนะนำให้ซื้อรุ่นที่มีจำนวนช่องเสียบตามอุปกรณ์ที่ใช้ + เผื่อไว้อีกสัก 2 ช่อง เผื่อว่าในบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นก็จะได้ไม่ต้องซื้อตัวใหม่ค่ะ
ดังนั้น สำหรับปลั๊กพ่วงมีสายให้ตรวจสอบว่าหัวเสียบมีระยะห่างเพียงพอกับประเภทปลั๊กที่ตัวเองต้องการใช้ ส่วนแบบปลั๊กพ่วงไม่มีสายให้เลือกชนิดที่สามารถเสียบได้จาก 3 - 4 ทิศทางมากกว่าแบบที่ช่องเสียบเรียงกัน จะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่นะคะ
ในปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปลั๊กเสียบแบบ 2 และ 3 ขา ซึ่งปลั๊กทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างเพียงจุดเดียว คือ ขาที่ 3 นั้นเป็นสายดิน ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟให้ไหลลงดินเพื่อไม่ให้เกิดไฟช็อตและไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลในกรณี ทางที่ดี ให้คุณเลือกปลั๊กพ่วงแบบช่องเสียบสำหรับ 3 ขาไปเลยก็ได้ เพราะปลั๊ก 2 ขานั้นใช้ร่วมกับ 3 ขาได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยลดปัญหาความยุ่งยากในตอนที่ซื้อปลั๊กพ่วงแล้วเกิดความไม่แน่ใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์ของคุณนั้นมีกี่ขา!
ในปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มีเพียงแค่ปลั๊กเสียบ 2 – 3 ขาอีกต่อไปแต่ยังมีหัวชาร์จแบบ USB อยู่ด้วย เช่น สายชาร์จ Power Bank, ชาร์จโทรศัพท์มือถือ-แท็บเล็ต เป็นต้น คุณจึงควรเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบ USB มาพร้อมใช้งานได้เลยเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกและรวดเร็ว ช่องเสียบเหล่านี้ยังคงทำงานจ่ายไฟได้ดีดังเช่นหัวเสียบแบบปลั๊กทั่วไป แต่ทั้งนี้ ความเร็วในการชาร์จนั้นก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพหัว USB ของอุปกรณ์คุณด้วยค่ะ
ขึ้นชื่อว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับไฟฟ้า ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ว่าแต่สิ่งที่ควรตรวจสอบอีกอะไรบ้าง ถ้านึกไม่ออกไปดูหัวข้อที่เรารวบรวมมาให้ตรงนี้เลยค่ะ
สิ่งพิเศษที่เสริมการทำงานของปลั๊กพ่วงให้ดีไปอีกขั้นคือระบบล็อกปลั๊กเสียบไม่ให้หลุดออกได้ง่าย โดยปลั๊กพ่วงที่มีระบบนี้ผู้ใช้ต้องบิดหัวปลั๊กให้เข้าล็อกทุกครั้งเวลาจะใช้หรือดึงออก ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดเหตุการณ์ที่คุณเผลอสะดุดปลั๊กจนหลุดออกจากเต้าเสียบ เหมาะกับการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบปลั๊กระยะยาว เช่น ทีวี, ตู้เย็น, คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นต้น
“Surge Protection” คือ ระบบที่ช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกรณีที่มีพายุ ฟ้าฝนคะนองแล้วเกิดฟ้าผ่า ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ยิ่งในบ้านเราที่ฝนตกทีไรต้องได้ยินเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า ฟังก์ชันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มาก ยิ่งถ้าคุณต้องการป้องกันข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือว่าถ้าใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีราคาแพงก็ให้เลือกปลั๊กที่มีระบบป้องกันไฟกระชากเอาไว้ก่อนนะคะ
อย่างไรก็ตาม การป้องกันอาจจะทำได้ไม่ 100% หรือทำได้แค่ครั้งสองครั้ง บ้านที่มีต้นไม้ใหญ่ถ้าฟ้าผ่าลงมากระแสไฟอาจวิ่งมาตามพื้นดิน สุดท้าย เข้าโมเด็มแล้วทำให้กระแสไฟแรงดันสูงหลุดลอดเข้ามาได้อยู่ดี แต่นั่นก็เป็นเคสที่ไม่ได้พบบ่อย ๆ ค่ะ
บริเวณขาปลั๊ก/ช่องเสียบไฟเป็นส่วนสำคัญของปลั๊กพ่วง ถ้ามีฝุ่นไปสะสมอยู่จำนวนมากอาจทำให้เกิดประจุไฟฟ้าแล้วเป็นผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรืออาจเกิดไฟไหม้ตามมาได้ โดยเฉพาะบริเวณปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่มักวางในที่ ๆ มองไม่เห็นทำความสะอาดได้ยากอย่างปลั๊กหลังทีวี ปลั๊กตู้เย็น เป็นต้น
ดังนั้น แนะนำว่าควรเลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีฟังก์ชันตรวจจับความร้อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าลัดวงจรนี้ โดยเลือกดูจากวัสดุตัวครอบฉนวนที่อยู่ด้านนอก หากว่าออกแบบมาได้ดีตัวครอบฉนวนนี้จะทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นไรเข้าไปเกาะสะสมบริเวณช่องเสียบไฟได้ค่ะ
บริเวณที่สุ่มเสี่ยงในที่นี้ หมายถึง บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ อาจเป็นปลั๊กไฟตรงอ่างล้างจาน, เคาน์เตอร์ครัว, บ่อปลา ฯลฯ ที่มีความเสี่ยงจะโดนน้ำกระเด็นใส่หรืออาจเป็นบริเวณนอกบ้านที่อาจโดนฝนสาดได้ทุกเมื่อ กรณีเช่นนี้ เราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีฟังก์ชันป้องกันน้ำอยู่ด้วย เพราะจะช่วยป้องกันไฟฟ้าช็อตหรือปลั๊กพ่วงเสียหายได้ค่ะ
หลายคนอาจจะพอทราบแล้วใช่ไหมคะว่า แค่เสียบปลั๊กเอาไว้กระแสไฟก็ถูกใช้ไปเรื่อย ๆ แม้เราไม่ได้เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ นั่นเป็นที่มาให้ปลั๊กพ่วงสมัยนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นแบบที่มีสวิตช์ควบคุมเปิด-ปิดการทำงาน บางยี่ห้อทำสวิตช์ควบคุม 1 ตัว เมื่อเปิดใช้งานคุณจะเสียบไฟช่องใดก็รับกระแสไฟได้ทันที แต่ขณะเดียวกันบางรุ่นทำให้มีสวิตช์ควบคุมทุกช่องเสียบไฟ ซึ่งมีประโยชน์ในการประหยัดพลังงาน คุณไม่จำเป็นต้องดึงปลั๊กออกทุกครั้ง เพียงแค่ปิดสวิตช์ไฟในจุดที่ไม่ใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันการจ่ายไฟฟ้าและช่วยโลกประหยัดการใช้พลังงานได้อีกทางด้วย
เป็นที่ทราบกันว่า ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, อังกฤษ ใช้กระแสไฟฟ้าแตกต่างจากบ้านเรา ซึ่งหากเราทำการชาร์จโดยตรงเลย อาจทำให้อุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือเกิดการช็อตเอาได้ อีกทั้งบางที่ก็มีปัญหาการใช้ปลั๊กไม่เหมือนกันอีกต่างหาก ทำให้เกิดความยุ่งยากไม่น้อยเลย ดังนั้น สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือซื้อสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศมาใช้ ตามมาเช็กกันค่ะว่า ประเทศไหนใช้หัวปลั๊กอะไร และเลือกสินค้ากันได้ในบทความ "หัวปลั๊กแปลงไฟ" และ "หัวชาร์จ USB" นี้เลยค่ะ
เมื่อได้รู้จักประเภทและฟังก์ชันต่าง ๆ ของปลั๊กพ่วงกันมากขึ้น หลายคนคงเริ่มอยากปรับเปลี่ยนปลั๊กไฟที่เคยใช้งานอยู่ตามคำแนะนำกันแล้วแน่นอน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราจึงได้จัดอันดับ 10 ปลั๊กพ่วงยอดฮิต ที่ได้ผ่านการเปรียบเทียบทั้งคุณสมบัติและราคา แถมยังหาซื้อได้ง่ายทางร้านค้าออนไลน์มาให้คุณ ณ ที่นี้แล้วค่ะ
มาพร้อมสายที่ยาวถึง 2 เมตรห่อหุ้มด้วยพลาสติกหนาสีขาว มีระบบป้องกันไฟฟ้าสถิต เหมาะกับการใช้งานทุกโอกาสจะใช้อยู่บ้าน ใช้นอกสถานที่หรือพกพาไปต่างประเทศก็สะดวกดีค่ะ
รุ่นนี้มีระบบป้องกันไฟกระชากและช่วยตัดไฟเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินกว่า 15A นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพรองรับกำลังไฟรวมกันสูงสุดได้ถึง 3,600 วัตต์ สามาารถใช้กับขาเสียบทุกชนิด
สินค้านี้ผ่านมาตรฐาน มอก.ให้คุณวางใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังไฟสูงสุดที่ 2,000 วัตต์ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะใช้กับสายไฟแบบ 2 หรือ 3 ขาก็ดีและจะเป็นขากลมหรือแบนก็ได้ แม้ราคาดีแบบนี้แต่มี Surge Protection ป้องกันไฟเกินด้วย
นอกจากนี้ ยังเหมาะกับการใช้งานทั่วไปเช่น ใช้เป็นปลั๊กไฟบริเวณหัวเตียงสำหรับเสียบโคมไฟอ่านหนังสือและชาร์จแบตเตอรี่มือถือ ถือว่าเป็นรุ่นเล็กพริกขี้หนูที่ราคาถูกมาก ตอบโจทย์ได้หลายไลฟ์สไตล์ แถมยังรองรับกำลังไฟได้สูงถึง 2,000 วัตต์ ใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดโดยไม่ช็อตแน่นอนค่ะ
ยังไม่หมดเท่านั้นค่ะ รางปลั๊กไฟทำจากวัสดุทนความร้อนได้สูงกว่า 750 องศาไม่ทำให้ไฟไหม้ลาม มีสายไฟยาวถึง 3 เมตรให้ทุกการใช้งานราบรื่นไม่มีสะดุดไม่ว่าจะระยะไกล แผงปลั๊กแน่น ผ่านการทดสอบว่าถอด 5,000 ครั้งไม่หลวม รองรับกำลังไฟได้สูง 2,500 วัตต์
รางปลั๊กทนความร้อนสูงและไม่ทำให้ไฟลามกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรแล้วไฟไหม้ที่ตัวปลั๊ก มาพร้อมสายยาวถึง 3 เมตรให้คุณยืดระยะการใช้งานได้อย่างอิสระ เหมาะสำหรับเวลาจัดงานสำคัญต่าง ๆ ในอาคารหรือในบ้าน สินค้าใช้งานดีได้เสียงชื่นชมจากผู้ใช้งานจริง
รองรับกำลังไฟได้สูงสุดที่ 2,200 วัตต์ มีสายยาว 3 เมตรให้คุณพ่วงต่อใช้งานได้ระยะไกล ช่องเสียบแบ่งเป็น 2 แถว ระยะช่องเสียบมีความห่างช่วยให้เสียบต่ออุปกรณ์หลายตัวได้ไม่ขวางทางกัน
รางปลั๊กออกแบบให้มีช่องเสียบปลั๊ก 4 ช่องให้คุณใช้งานอย่างจุใจ ตอบโจทย์คนชอบความคุ้มค่า ได้รับคำชมจากผู้ใช้จริงอย่างล้นหลามว่าเสียบปลั๊กได้แน่ หมดกังวลเรื่องปลั๊กหลวมหรือหลุดง่าย ที่สำคัญ มาในราคาสมเหตุสมผลแถมร้านค้ายังกล้ารับประกันให้ยาวนานถึง 3 ปี แบบนี้เป็นเครื่องยืนยันได้เลยว่าของเขาดีค่ะ!
สายไฟเชื่อมต่อที่ตัวรางปลั๊กทำจากพลาสติกมีคุณภาพดี ทนทาน แตกหักได้ยาก มีความยาว 2 เมตรให้คุณเคลื่อนเปลี่ยนที่ใช้งานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องเปลี่ยนเต้าเสียบ ควรมีไว้ติดบ้านและโต๊ะทำงานกันสักเครื่องนะคะ
เต้ารับเสียบปลั๊ก 3 ขาได้ ใช้ได้ทั้งกับปลั๊กไฟหัวแบนและหัวกลม มีระบบป้องกันความปลอดภัยครบครัน ตั้งแต่ขั้วเสียบมีความเป็นสปริงที่ช่วยยึดปลั๊กไม่ให้หลุดได้ง่าย ๆ มีเบรกเกอร์ในตัวช่วยตัดไฟหากอุปกรณ์ที่ใช้มีแรงดันไฟเกิน 16A หากพลาดใช้เกินขึ้นมาก็แค่ถอดปลั๊กออกแล้วกดปุ่ม Reset ก็จะกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
ปลั๊กพ่วงส่วนใหญ่ทำออกมาให้รองรับกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดแตกต่างกัน แต่หากคุณยังไม่ทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่มีอยู่สามารถใช้ได้กับปลั๊กพ่วงดังกล่าวหรือไม่ ทีมงานก็มีตัวอย่างกำลังไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานที่คุณควรทราบมาฝากกันค่ะ
· ตู้เย็น (2-12 คิว) : 53-194 วัตต์
· ไมโครเวฟ : 100-1,000 วัตต์
· เครื่องดูดฝุ่น : 625-1,000 วัตต์
· โทรทัศน์ : 43-95 วัตต์
· เครื่องเล่น DVD : 30-50 วัตต์
· คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ : 150-250 วัตต์
· พัดลมตั้งพื้น : 45-75 วัตต์
. เครื่องเป่าผม : 300-1,300 วัตต์
. หม้อหุงข้าว : 500-1,000 วัตต์
เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบทความที่เรานำมาฝากกัน ทุกคนคงเห็นแล้วว่า การเลือกซื้อปลั๊กพ่วงไม่ใช่เพียงแค่ดูราคาหรือรูปลักษณ์แล้วทำการจ่ายเงินเลยเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงจำนวนช่องเสียบ ช่องไฟ รวมไปถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมเรื่องความปลอดภัยและให้ใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้นด้วย
วิถีชีวิตคนปัจจุบันคงปฏิเสธการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ได้ แต่เราควรใช้อย่างประหยัดและรู้จักคุณค่าโดยการถอดปลั๊กอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ทุกครั้ง เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าไฟในกระเป๋าคุณแล้ว ยังช่วยโลกประหยัดทรัพยากรที่เริ่มจะร่อยหรอได้ด้วยค่ะ หวังว่าข้อมูลและสินค้าที่นำมาฝากในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้ของผู้อ่านทุกคนนะคะ